ศึกษาแนวการสอนแบบโครงการ : Project Approach
เป็นการสอนรูปแบบหนึ่งที่ให้โอกาสเด็ก ได้เรียนรู้โดยการสืบค้นข้อมูลอย่างลึกในเรื่องที่เด็กสนใจ เพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง การนำแนวคิด “ Project Approach ” มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยศึกษา ประกอบด้วยกระบวนการ 5 ข้อดังนี้
1. การอภิปรายกลุ่ม ในงานโครงการครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และช่วยเด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อย หรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้นทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
2. การศึกษานอกสถานที่ หรืองานในภาคสนาม เป็นกระบวนการที่สำคัญของการทำโครงงานประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปศึกษานอกห้องเรียน เรียนรู้สิ่งก่อสร้าง ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน
3. การนำเสนอประสบการณ์เดิม เด็กสามารถทบทวนประสบการณ์เดิมในเรื่องที่สนใจ มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน
4. การสืบค้นงานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่างหลากหลายตามหัวเรื่องที่สนใจ เด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้ปกครองของตนเอง หรือ บุคคลในครอบครัว
5. การจัดแสดง การจัดแสดงทำได้ได้หลายรูปแบบ อาจใช้ฝาผนังหรือป้ายจัดแสดงงานของเด็ก เป็นการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้สึกที่ได้จากการสืบค้นแก่เพื่อนในชั้นเรียน ครูสามารถ ให้เด็กในชั้นเรียนได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปรายการสอนดังกล่าวนี้ เป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยการสร้างความรู้ด้วยตนเอง นับเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการปฏิบัติที่เหมาะสมและการเรียนรู้ที่มีความหมายเต็มไปด้วยความกระตือรือร้นของเด็กปฐมวัย
การสอนแบบโครงการจะดำเนินการเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น ครูและเด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิม ตั้งคำถาม ทำใยแมงมุม นำเสนอและแสดง คิดสิ่งที่ตนเข้าใจในรูปแบบต่างๆตามความเหมาะสมของวัย
ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา ครูจัดโครงการให้เด็กทำภาคสนาม และพูดคุยกับวิทยากร เป็นการค้นคว้า และมีประสบการณ์ใหม่ ถือเป็นหัวใจของโครงการ
ระยะที่ 3 ระยะสรุป ครูจัดให้เด็กมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเมิน สะท้อนกลับ และนำเสนอผลงานในรูปแบบนิทรรศการ ป้ายนิเทศหรือสมุดโครงการ ฯลฯ
นักเรียนนำเสนอผลงานของตนเองในงานนิทรรศการทางวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2554
จาการสอนแบบโครงการเรื่อง “ตามรอยพระราชา”
เอกสารโครงการ