Multiple Intelligences

พหุปัญญา :

โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์
Howard Gardner
Frames of Mind (1983)

 


 

ปัญญาคือความสามารถในการแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์ผลผลิตที่มีคุณค่าในสังคม :
        An Intelligence is the ability to solve problems or to create products that are valued within one or more culteral settings

 

ปัญญาสามารถแสดงออกได้ในรูปของงาน ชิ้นงาน และองค์ความรู้เฉพาะด้าน :

        Intelligences are always expressed in the context of specific tasks, domains, or disciplines.

 

ในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ปัญญาจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน สามารถมองเห็นได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน :
        With different cultures, there appear to be characteristic blends of intelligences which have been favored over the years.

 

        โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ นักจิตวิทยาและนักการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ศึกษาศักยภาพและความถนัดของคนแล้วจำแนกปัญญาด้านต่างๆของมนุษย์ออกเป็น 8 ด้านตามทฤษฎีพหุปัญญา ดังนี้

 

1.ปัญญาด้านภาพและมิติ

     ความสามารถในการรับรู้ภาพและมิติต่างๆ มีความโน้มเอียงที่จะคิดในลักษณะที่เป็นภาพ มีความประสงค์ที่จะสร้างสรรค์ภาพที่ชัดเจนของสิ่งใดๆขึ้นในใจเพื่อให้สามารถคงความทรงจำในสาระข้อมูลของภาพนั้นไว้ ชอบที่จะดูภาพแผนที่ แผนภูมิ ภาพ วีดิทัศน์ และภาพยนตร์ บุคคลในกลุ่มปัญญาประเภทนี้ได้แก่ นักเดินเรือ นักบิน ประติมากร ศิลปิน นักวาดภาพ สถาปนิก

 

2.ด้านคำศัพท์และภาษา

      มีความสามารถในการใช้คำศัพท์และภาษา มีพัฒนาการที่เกี่ยวกับทักษะทางด้านเสียง มักจะเป็นนักพูดที่มีชื่อเสียง คนกลุ่มนี้จะคิดเป็นคำมากกว่าที่จะคิดเป็นภาพ บุคคลในกลุ่มปัญญาประเภทนี้ได้แก่ บุคคลในกลุ่มปัญญาประเภทนี้ได้แก่ กวี นักเขียน นักพูด นักโต้วาที

 

3.ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์

     มีความสามารถในการใช้เหตุผล ตรรกะและจำนวน การคิดจะเป็นไปโดยใช้แนวคิดและหลักการที่เกี่ยวกับเหตุผลและรูปแบบทางด้านตัวเลข สามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลหลายๆด้าน ชอบถามคำถามและชอบการค้นคว้าทดลอง บุคคลในกลุ่มปัญญาประเภทนี้ได้แก่ นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ นักคิด นักสถิติ

 

4.ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

     มีความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนที่และเคลื่อนไหวร่างกาย สามารถควบคุมการใช้งานสิ่งต่างๆอย่างมีความชำนิ ชำนาญ แสดงออกด้วยการเคลื่อนไหว มีประสาทสัมผัสที่ดีในเรื่องการทรงตัวและการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา บุคคลในกลุ่มปัญญาประเภทนี้ได้แก่ นักเต้นรำ ศัลยแพทย์ นักประดิษฐ์ นักกีฬา

 

5.ด้านดนตรี

     มีความสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรี มีความพึงพอใจในเรื่องของดนตรี คิดเป็นเสียงและคิดเป็นจังหวะ มีการตอบสนองต่อดนตรีและมีความไวต่อเสียงต่างๆในสภาพแวดล้อม บุคคลในกลุ่มปัญญาประเภทนี้ได้แก่ นักดนตรี นักแต่งเพลง วาทยากร

 

6.ด้านตัวตนตนเอง

     มีความสามารถในการสะท้อนแนวคิดที่เกี่ยวกับตนเองและสามารถตระหนักรู้ในสภาวะภายในจิตใจของตน พยายามทำความเข้าใจในเรื่องของความรู้สึกภายใน ความฝัน ความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ รู้ถึงจุดเด่นและจุดด้อย บุคคลในกลุ่มปัญญาประเภทนี้ได้แก่ นักจิตวิทยา ผู้นำทางศาสนา นักปรัชญา

 

7.ด้านมนุษยสัมพันธ์

     มีความสามารถในการสร้างสัมพันธ์และการทำความเข้าใจกับบุคคลอื่นๆ พยายามพิจารณาสิ่งต่างๆในมุมมองของคนอื่นเพื่อให้เข้าใจว่า คนอื่นๆคิดและรู้สึกอย่างไร เป็นผู้ที่มีความสามารถในการจัดการกับเรื่องต่างๆและพยายามที่จะดำรงสันติภาพของกลุ่มไว้ให้ได้ กระตุ้นส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ บุคคลในกลุ่มปัญญาประเภทนี้ได้แก่ ครู นักสังคมสงเคราะห์ นักแสดง นักการเมือง พนักงานขายของ

 

8.ด้านธรรมชาติวิทยา

     มีความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ บุคคลในกลุ่มปัญญาประเภทนี้ได้แก่ นักภูมิศาสตร์ นักธรณีวิทยา

 

        โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) จำแนกความฉลาดทางความคิดออกได้อย่างน้อยแปดวิถีทาง ผู้เรียนที่มีความฉลาดทางด้านใดด้านหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งมีแนวโน้มที่จะแสดงความชอบต่อการเรียนรู้ในวิถีทางนั้นหรือวิถีทางเหล่านั้น นั่นคือบุคคลมีรูปแบบหรือวิธีการในการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีทางในการคิดอย่างชาญฉลาดของตน บุคลิกลักษณะที่แสดงออกและลักษณะจำเพาะของแต่ละวิถีทางในการคิดอย่างชาญฉลาดสามารถสรุปรวมได้ดังตารางต่อไปนี้

 

ความสนใจ

บุคลิกภาพของผู้เรียน

ลักษณะจำเพาะของวิถีทางในการคิด

สนใจเรียนรู้ทางด้านคำศัพท์และภาษาชอบ- เขียน เล่านิทานเก่ง – ในการจำชื่อ สถานที่ วันที่และรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ แม้จะไม่สำคัญเรียนรู้ได้ดีด้วยการ พูด ฟังและการเห็นคำต่างๆความหมาย แบบแผน รูปแบบ จุดมุ่งหมาย การฟัง การอ่าน โครงสร้างภาษา ความรู้สึก การอุปมา อุปมัย
สนใจในเรื่องของตรรกะและคณิตศาสตร์ชอบ- การทดลอง การแก้ปัญหา การทำงานเกี่ยวกับตัวเลข การตั้งคำถามเก่ง – จำแนกประเภท การใช้เหตุผล ตรรกะ การแก้ปัญหาเรียนรู้ได้ดีด้วยการ จำแนกแยกประเภท การทำงานกับรูปแบบหรือความสัมพันธ์ที่เป็นนามธรรมความจริง การวิเคราะห์ สังเคราะห์ การตั้งสมมติฐาน ความเป็นไปได้ การคำนวณ การหาสัดส่วน
สนใจในเรื่องภาพและมิติชอบ- ดูภาพ ดูสไลด์ ชมภาพยนตร์ เล่นกับเครื่องจักรกลเก่ง – ในการสร้างจินตนาการ สัมผัสรู้ถึงความเปลี่ยนแปลง ภาพปริศนา การอ่านแผนที่ แผนภูมิเรียนรู้ได้ดีด้วยการมองภาพ การฝัน การการสร้างภาพในใจการรับรู้ การให้เหตุผล มิติ มุมมองด้านต่างๆ การแสดงแบบ ความสมมาตร
สนใจในเรื่องดนตรีชอบ – ร้อง/ฮัมเพลง ฟังดนตรี เล่นดนตรี มีการตอบสนองต่อดนตรีเก่ง – รับรู้เรื่องเสียง การจำทำนองดนตรี ความสามารถรับรู้ในระดับเสียงและจังหวะของดนตรี การรักษาเวลาเรียนรู้ได้ดีด้วยการ อาศัยจังหวะและท่วงทำนองของดนตรีระดับเสียง ท่วงทำนอง จังหวะ ความผิดแผกของเสียง ความสัมพันธ์ของเสียงดนตรี การประพันธ์เพลง การบรรเลง
สนใจในเรื่องร่างกายและการเคลื่อนไหวชอบ– เคลื่อนไหวไปมา สัมผัสจับต้อง พูดคุย สนทนาใช้ภาษาท่าทางเก่ง – กิจกรรมทางกายภาพ( กีฬา/เต้นรำ/การแสดง) หัตถกรรมเรียนรู้ได้ดีด้วยการ สัมผัส เคลื่อนไหว ปฏิสัมพันธ์กับเนื้อที่ จัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทางกายการควบคุมกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การประสานงานของอวัยวะต่างๆ การเคลื่อนไหว การทรงตัว ความกระฉับกระเฉง ปราดเปรียว ความคล่องแคล่ว การแสดงออก
สนใจในเรื่องมนุษยสัมพันธ์ชอบ– คบเพื่อนฝูงมากมาย สนทนากับคนอื่นๆ ร่วมกิจกรรมกลุ่มเก่ง – ในการทำความเข้าใจผู้คน การเป็นผู้นำ การจัดการ การสื่อสารเรียนรู้ได้ดีด้วยการแบ่งปัน เปรียบเทียบ สร้างความเชื่อมโยง การทำงานร่วมกัน ความสัมพันธ์ การมีปฏิสัมพันธ์ ลักษณะพื้นฐานทางอารมณ์ การจูงใจ การร่วมมือ ภาวะผู้นำ
สนใจในเรื่องของตัวตนชอบ – การทำงานตามลำพัง ทำตามความสนใจของตนเองเก่ง – แก้ไขความขัดแย้ง มีความเข้าใจในตนเอง มุ่งมั่นสู่เป้าหมายภายใน คล้อยตามความสนใจ สัญชาตญาณและความปรารถนาของตนเองเรียนรู้ได้ดีด้วยการ ทำงานตามลำพัง ทำโครงการของตนตามลำพัง วางกรอบความก้าวหน้าของตนเองและมีพื้นที่จำเพาะของตนเองการเห็นคุณค่าของตนเอง การไตร่ตรอง อารมณ์ เอกลักษณ์ การเลือกทางเลือก ความเชื่อมั่น ดุลยภาพ
สนใจในเรื่องธรรมชาติชอบ– สังเกตสิ่งต่างๆ จำสิ่งต่างๆได้ และสามารถจำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆได้เก่ง – ระบุชื่อสิ่งต่างๆรอบๆตัวได้ ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างของสิ่ง สร้างสรรค์กระบวนการจัดกลุ่มและเรียงลำดับสิ่งต่างๆเรียนรู้ได้ดีด้วยการ สำรวจตรวจสอบ สังเกต เชื่อมโยง วิเคราะห์และทดลองชื่อ สัญลักษณ์ ความสัมพันธ์ การแบ่งแยกประเภท การจัดเรียงลำดับชั้น การเชื่อมโยง

 

 

     ปัจจุบัน การ์ดเนอร์ได้เพิ่มปัญญาด้านอื่นๆเพิ่มเติมอีกได้แก่ ปัญญาทางด้านการดำรงอยู่ของชีวิต หรือด้านจิตนิยม(Existential Intelligence) ซึ่งเป็นปัญญาที่เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ การหาความหมายของชีวิต เข้าใจความสัมพันธ์ของโลกทางกายภาพกับโลกของจิตใจ มีความเข้าใจในสัจธรรมของชีวิตเป็นต้น กับปัญญาทางด้านจิตวิญญาณ ทฤษฎี นี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

 

 

มุมจัดกิจกรรมส่งเสริมความสนใจของเด็กด้านต่างๆ

   

   

   

   

 

 

กิจกรรมส่งเสริมความสนใจของเด็กด้านต่างๆ