..โดย..คุณครูจารุวรรณ์ เหยิบไธสงค์
1. อธิบายให้ลูกเข้าใจว่า โรงเรียนคืออะไร และทำไมถึงต้องไปโรงเรียน
2. ให้ลูกมีส่วนร่วมในการเลือกซื้ออุปกรณ์การเรียนของเขาเอง ลูกจะได้อยากใช้อุปกรณ์นั้นที่โรงเรียน
3. เตรียมความพร้อมโดยฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง เช่น ใส่เสื้อผ้า สวมถุงเท้า รองเท้า เมื่อเขาทำอะไร ๆ ได้ด้วยตัวเองแล้ว เขาก็จะไปโรงเรียนด้วยความมั่นใจ
4. ให้ลูกดูรูปเก่า ๆ สมัยคุณพ่อคุณแม่เป็นเด็กอนุบาล พร้อมทั้งเล่าประสบการณ์การไปโรงเรียนครั้งแรกให้เขาฟัง จะทำให้เขารู้สึกตื่นเต้น และกระตือรือร้นที่จะไปโรงเรียนมากขึ้น
5. เด็กเล็ก ๆ มักจะกลัวที่ต้องห่างจากอ้อมอกแม่ เพราะฉะนั้นถ้ามีเวลาว่าง ควรพาลูกไปสำรวจโรงเรียน ทำความรู้จักกับคุณครูหรือพี่เลี้ยงก่อนก็จะยิ่งดี
6. สำรวจละแวกบ้านว่ามีเด็กที่เรียนโรงเรียนเดียวกับลูกหรือไม่ ถ้ามี ก็ลองพาลูกไปโรงเรียนพร้อมกัน เจ้าตัวเล็กจะได้รู้สึกว่ามีเพื่อน
7. ขออนุญาตคุณครู ให้ลูกนำตุ๊กตาตัวโปรดหรือของที่ลูกชอบพกติดตัวไปโรงเรียนด้วย
8. ถ้าลูกยังร้องไห้โยเยหลังจากไปโรงเรียนแล้ว ต้องค่อย ๆ ปลอบโยน และฟังลูกเล่าว่าทำไมถึงไม่ชอบโรงเรียน บางครั้งอาจต้องล่อหลอกเขาบ้าง เช่น สัญญาว่าจะพาไปทานไอศกรีม หรือให้รางวัลที่ลูกยอมไปโรงเรียน แต่อย่าใช้วิธีนี้บ่อยนะคะ เพราะเด็กอาจติดนิสัยต่อรองเงื่อนไขและเรียกร้องรางวัลได้ค่ะ
วิธีเหล่านี้จะสัมฤทธิ์ผลได้ดีก็ต่อเมื่อคุณพ่อคุณแม่หนักแน่นด้วยค่ะ หากเผลอแสดงอาการลังเลหรือไม่แน่ใจให้ลูกเห็นว่าไม่ไปโรงเรียนก็ได้แล้วล่ะก็ เจ้าตัวเล็กอาจจะโยเยต่อไปไม่เลิกได้เหมือนกัน
เพราะโรงเรียน คือ โลกใหม่ใบเล็กของเด็ก ๆ คุณจึงควรให้เวลาเขาปรับตัวสักนิดนะคะเพื่อไปเขาจะได้เรียนรู้และอยู่ในสังคมใหม่ ๆ ได้อย่างมีความสุข
ที่มา
“http://www.planforkids.com/homepage.php?maincat=parentall&id=31”
ดู ๆ ก็ฉลาด แต่ทำไมเรียนไม่รู้เรื่อง
ความสามารถของเด็กมีระยะเวลาในการพัฒนา เด็กบางคนเริ่มหัดเดินตั้งแต่อายุ 10 เดือน บางคนไปเดินได้ที่อายุ 1 ปี 1 เดือน เด็กหลายคนพูดคำแรกได้ตั้งแต่อายุ 9 เดือน แต่บางคนพูดได้ที่อายุ 1 ปีครึ่ง เด็กหลายคนที่เริ่มอ่านตัวหนังสือได้ที่อายุ 4 ปี แต่บางคนทำได้ที่อายุ 7 ปี ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ทางการแพทย์ก็ยังนับว่าเป็นภาวะแกติ และมิได้หมายความว่า เด็กที่เดินได้ พุดได้ หรืออ่านหนังสือได้ช้ากว่า เมื่อพ่อแม่ไม่มองที่ความสามารถของเด็กเป็นพื้นฐาน แต่เอาอายุเด็กและโรงเรียนเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจให้เด็กเข้าเรียนหนังสือ จะฝากหรือจะใช้เส้นก็ตาม ส่งผลทำให้เด็กหลายรายที่ทักษะในการเขียน หรืออ่านหนังสือยังไม่พร้อม แต่ต้องเข้าไปเรียนอยู่ในห้องที่ต้องใช้ทักษะนี้ และเด็กก็เรียนไม่ได้ ทำไม่ได้ ไม่รู้เรื่อง สุดท้ายทำให้พ่อ แม่ ลูก ต่างฝ่ายต่างก็ผิดหวังซึ่งกันและกัน
สาเหตุที่เด็กวัย 3 – 5 ปี เรียนได้ไม่ดี
1. พัฒนาการยังไม่พร้อม เช่น ใช้มือไม่คล่อง มือกับตาทำงานไม่ประสานกัน ช่วยตัวเองไม่ได้ ยังติดแม่หรือติดกับการช่วยเหลือของผู้อื่น
2. ทักษะในการอ่าน เขียนหนังสือ หรือทักษะในการคำนวณยังไม่พร้อม
3. ถูกเร่งรัด บีบบังคับให้รับรู้หรือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เกินตัว
4. คนสอนไม่เข้าใจเด็ก
5. ปัญญาอ่อน หรือมีความบกพร่องในการรับรู้
6. ถูกเลี้ยงแบบปกป้องมากไป ทำให้เด็กขาดทักษะพื้นฐานในการคิด ตัดสินใจ หรือทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง
วิธีการให้ความช่วยเหลือ
1. ปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดู ให้ช่วยตัวเองและรับผิดชอบกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัวให้มากที่สุด คอยให้กำลังใจและให้โอกาสในการฝึกฝนบ่อย ๆ จนทำให้คล่อง
2. ปรับพัฒนาการให้สอดคล้องเท่ากันทุกด้าน เช่น ความสามารถของการใช้มือ การช่วยเหลือตนเอง การทำใจในการแยกจากแม่ คุณภาพการเล่นที่เหมาะสมกับเด็กอื่น ๆ ได้
3. พิจารณา สถานที่เรียน ชั้นเรียนและคุณครูผู้สอนว่าเหมาะสม เข้ากับลักษณะความสามารถของเด็กได้หรือไม่
4. พาลูกพบกุมารแพทย์ เพื่อตรวจค้นหาความผิดปกติ
ขอบคุณข้อมูลจาก สารพันปัญหาเด็ก พญ วินัดดา ปิยศิลป์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
http://www.rcpsycht.org/cap/news_files/news_file_55.pdf